ชนิด และ ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง

ชนิด และ ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง

ชนิด และ ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง

1.แผงโซล่าเซลล์ ชนิด อะมอร์ฟัส (Amorphous Silicon) หรือแผงทินฟิล์ม (Thin film) แผงโซล่าเซลล์ ที่เคยได้รับความนิยมสูงในยุคราวๆ 30 ปีก่อน แผงโซล่าเซลล์แบบอะมอร์ฟัส(Amorphous) จะเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีโครงสร้างการเรียงตัวยึดเกาะกันของอะตอมแบบหลวมๆไร้ระเบียบ และถูกทำให้เป็นแบบฟิล์มบางๆ ปิดทับจงจรของเซลล์ทั้งหมดด้วยด้วยกระจก โดยคุณสมบัติของแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะให้แรงดันไฟฟ้าที่สูง แต่ให้กำลังงานต่ำ คือมีค่าประสิทธิภาพต่อพื้นที่ที่ต่ำ (Low Eff.) และมีเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างจากแผงโซล่าเซลล์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง แม้ในปัจจุบันจะถูกพัฒนาให้มีค่าประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ถึง 13+% แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเทียบได้กับแผงโซล่าเซลล์เทคโนโลยีปัจจุบัน แต่เราจะยังพบเห็นได้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด เช่นเครื่องคิดเลข โคมไฟโซล่าเซลล์บางชนิด แผ่นหลังคาโซล่าเซลล์สำเร็จรูป ฯลฯ

2.แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ซิลิกอน คริสตัลไลน์ (Silicon Crystalline) เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตขึ้นจากซิลิกอน(Si) ที่ไม่ใช่รูปแบบของฟิล์มแล้ว แต่เป็นเทคโนโลยีการสร้างเซลล์ให้เป็นผลึก(Crystalline) โดยจะมีอยู่สองชนิดคือ

  • Polycrystalline
  • Monocrystalline

3.แผงโซล่าเซลล์ ชนิด “โพลี คริสตัลไลน์” (Polycrystalline)

แผงโซล่าเซลล์ แบบ โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) ได้รับความนิยมสูง และปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ เนื่องจากแผงโซล่าร์ชนิดนี้มีกระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า สามารถผลิตได้ปริมาณมาก เนื่องจากเป็นชนิดที่มีส่วนผสมของธาตุอื่นผสมอยู่ด้วย จึงทำให้ปริมาณการใช้ผลึกซิลิกอนบริสุทธิ์น้อยลง และมีราคาตลาดต่ำกว่าแบบผลึกบริสุทธิ์อยู่เล็กน้อย

คุณสมบัติของแผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์นั้น (Polycrystalline) มีแนวโน้มที่จะยังคงประสิทธิภาพการผลิตกำลังงานไฟฟ้าได้ดีต่อเนื่องในช่วงเวลาเดียวกันที่มีสภาวะแดดจัด และอากาศมีอุณหภูมิสูง และมีผลกระทบต่อการผลิตในช่วงสภาวะดังกล่าวน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนฯ ค่าประสิทธิภาพการผลิตต่อพื้นที่ด้อยกว่าชนิดโมโนฯ และมีค่าประสิทธิภาพอยู่ที่ (Eff.) = 16-18%

4.แผงโซล่าเซลล์ ชนิด “โมโน คริสตัลไลน์” (Monocrystalline)

แผงโซล่าเซลล์ แบบ โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) ปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก เพราะเป็นแผงโซล่าร์ชนิดที่เป็นผลึกซิลิกอนบริสุทธิ์ มีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า จึงมีค่าประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงกว่าแบบโพลีคริสตัลไลน์ เมื่อเทียบกันกับแผงโซล่าเซลล์แบบ Monocrystalline นั้น สามารถให้ประสิทธิภาพสูงกว่า ดีกว่า โดยมี Efficiency สูงถึง 20-21.xx+% ขึ้นไป ทำให้ลดการใช้พื้นที่เพื่อการติดตั้งน้อยลงกว่าแผงชนิดโพลีฯ หรือทำให้พื้นที่ที่จำกัดสามารถสร้างกำลังผลิตได้มากขึ้น โดยคุณสมบัติของแผงโซล่าเซลล์แบบ Monocrystalline นั้นมีแนวโน้มที่ชะลอลงเมื่ออุณหภูมิอากาศสูงมาก แต่ในทางกลับกัน แผงโซล่าเซลล์ แบบ Monocrystalline จะเริ่มต้นการทำงานได้เร็ว และดีกว่าแม้ในสภาวะแสงน้อย หรือแสงแดดอ่อน จึงทำให้ผลเฉลี่ยของค่าที่ได้จากการผลิตเฉลี่ยแล้วออกมาได้ดีกว่าแบบแผงชนิดโพลีฯ ในส่วนของความทนทานของ Cell และอายุการใช้งานนั้นไม่แตกต่างกัน

อ่านบทความ ระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคา หรือ Solar Rooftop System คืออะไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *