โซล่าเซลล์ ลอยน้ำ มีข้อดีอย่างไร หลายๆคนคงรู้กันอยู่แล้วว่า โซล่าเซลล์คืออะไร ซึ่งโซล่าเซลล์ คืออุปกรณ์ที่นำแสงอาทิตย์แปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ได้ใช้งานกัน โดยทั่วไปแล้วภาพที่เราเห็นจนชินตาของโซล่าเซลล์คือติดตั้งบนพื้นดิน แต่ความจริงแล้ว โซล่าเซลล์ นั้นยังมีรูปแบบลอยน้ำอีกด้วยนะครับ ซึ่งสำหรับในเมืองไทยที่แรกของประเทศ ที่ใช้ โซล่าเซลล์ ชนิดลอยน้ำ นั้นอยู่ที่ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จํากัด ตั้งอยู่ที่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทภายใต้กลุ่ม บริษัท. ปตท. โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตออกมานั้น จะถูกใช้ภายในองค์กรของบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จํากัด โดยหนึ่งปีสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมหาศาลและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายล้านตันเลยนะครับ และที่สำคัญตัวทุ่นพลาสติกลอยน้ำนั้น มีคุณสมบัติพิเศษที่ป้องกันการเกาะเพรียงทะเลได้เป็นอย่างดี และเป็นพลาสติกที่ใช้งานก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยกับสัตว์น้ำ ซึ่งได้ตัวพลาสติกถูกคิดค้นโดยกลุ่ม บริษัท ปตท. ด้วยเช่นกันครับ แถมการใช้ โซล่าเซลล์ลอยน้ำ ก็มีข้อดีดังนี้ครับผม ข้อดีของโซล่าเซลล์ลอยน้ำคือ ประหยัดพื้นที่ดิน ทำให้ผู้ประกอบการ หรือเกษตรกร ไม่ต้องสูญเสียที่ดินโดยเปล่าประโยชน์ การผลิตไฟฟ้ามีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะ แผงโซล่าเซลล์ […]
Monthly Archives: December 2021
โซล่าเซลล์แบบใหม่กับประสิทธิภาพที่เหนือกว่า 2 เท่า นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems ประสบความสำเร็จในการพัฒนา แผงโซล่าเซลล์ ที่มีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของเทคโนโลยีทั่วไป เซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไปใช้แสงที่มีความยาวคลื่นที่เฉพาะตัวเท่านั้น ช่วงความยาวคลื่นอื่นจะสูญเปล่า และเพื่อไม่ให้เป็นเช่นนั้น ทีมนักวิจัยจากสถาบัน Fraunhofer ได้เปลี่ยนจากการใช้สารประกอบทั่วไปในการผลิต แผงโซล่าเซลล์ เป็นสารประกอบใหม่ ประกอบด้วยสารประกอบเซมิคอนดักเตอร์ เช่น แกลเลียม อินเดียม หรือสารหนู แต่ละชนิดจะใช้แสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ซึ่งในกระบวนการผลิตแบบพิเศษ ชั้นของสารประกอบเหล่านี้จะถูกวางทับซ้อนกัน เพื่อสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่มาผลิตกระแสไฟฟ้า มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 41% ซึ่งถอว่าสูงมาก นักวิจัยได้มีการทดสอบเทคโนโลยีนี้เมื่อสภาพอากาศแจ่มใส ผลที่ได้คือเซลล์จำนวน 5 แสนเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 200 กิโลวัตต์ และนั่นก็เพียงพอแล้วที่จะจ่ายพลังงานให้กับประชาชน 40 ครัวเรือน ซึ่งในอนาคตถ้ามีการผลิตจำนวนมาก จะทำให้ แผงโซล่าเซลล์ มีราคาถูกลงมาก ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคตอีกแบบหนึ่งที่น่าจับตามอง
แสงจันทร์ ผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ได้หรือไม่? คำตอบคือได้เพราะแสงจันทร์สามารถสะท้อนแสงแดดได้เช่นกัน แผงโซล่าเซลล์ แปลงแสงจันทร์เป็นไฟฟ้า สามารถใช้เพื่อให้พลังงานแก่เซลล์ PV ได้ในราคา 345: 1 ซึ่งหมายความว่าแผงที่ปกติจะผลิต 3450 W ในตอนเที่ยงคืนจะผลิตพลังงานเพียง 10 W ในช่วงพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์เสี้ยว (ความสว่าง 50%) ในทำนองเดียวกันจะผลิตได้เพียง 5 W เป็นต้น แสงจันทร์ที่เข้มข้นโดยใช้เทคนิคการสะท้อนแสงหรือการหักเหของแสงจะช่วยเสริมกำลังวัตต์ ตราบใดที่แสงมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-1127 นาโนเมตร (สีม่วงถึงใกล้อินฟราเรด) เซลล์ PV จะแปลงเป็นไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด แสงจันทร์ หรือไฟฉาย เมื่อพระจันทร์เต็มดวงในคืนที่ไม่มีเมฆ คุณจะได้รับประมาณ 1/350,000 ของดวงอาทิตย์เต็มดวงตอนเที่ยง ดังนั้นหลังคาโซลาร์รูฟ 7,000 วัตต์ของคุณอาจมีกำลังขับ 20 มิลลิวัตต์ในช่วงพระจันทร์เต็มดวง อินเวอร์เตอร์ของคุณอาจตัดกระแสไฟที่ต่ำเช่นนี้ ดังนั้นคุณอาจไม่ได้ประโยชน์อะไรจากระบบของคุณเลย แต่แผงโซล่าเซลล์กำลังผลิตอยู่ แผงโซล่าเซลล์ ที่มีกำลังไฟ 50 วัตต์ ให้กระแสไฟเพียงพอที่จะทำให้ไฟ LED สีแดงสว่างขึ้น […]
ทำความเข้าใจกับระบบโซล่ารูฟท็อป หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ ระบบออฟกริด หรือ ระบบโซล่ารูฟท็อป มาบ้างแล้ว แต่ก็ยังงงๆ อยู่ อะไรมีหน้าที่ทำอะไร ระบบออฟกริดกับโซล่ารูฟท็อปเหมือนกันหรือไม่ แล้วที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านเขาเรียกอะไรกันแน่ ดังนั้นวันนี้จะมาอธิบายให้ฟังกันเริ่มตังแต่ แผงโซล่าเซลล์ กันเลย 1.แผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar Panel มีหน้าที่หลักๆ คือ ผลิตไฟฟ้าเมื่อได้รับแสงอาทิตย์ โดยมีหลักการคือ แสงอาทิตย์จะมีอนุภาคโฟตอนอยู่และเมื่อมันชนกับเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่บน แผงโซล่าเซลล์ จะเกิดปฎิกริยาส่งผลให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมและเมื่ออิเล็กตรอนไหลผ่านวงจรดังกล่าวก็จะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งในแผงโซล่าเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมาก เซลล์แสงอาทิตย์ทำจากซิลิกอน เช่น เซมิคอนดักเตอร์ พวกมันถูกสร้างขึ้นด้วยชั้นบวกและชั้นลบเช่นเดียวกับในแบตเตอรี่ 2.อินเวอร์เตอร์ คือเครื่องไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบในการทำงานคือ ทำหน้าที่รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จาก แผงโซล่าเซลล์ เข้ามา จากนั้นจึงผ่านกระบวนการกรองไฟฟ้ากระแสตรงที่รับเข้ามานั้นด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ (DC. Modifier) เพื่อให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่มีความราบเรียบ จากนั้นจึงทำการ Convert หรือแปลงให้กลายเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่มีความเสถียร และมีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับไฟฟ้าที่จ่ายมาจากการไฟฟ้า (Grid) ทั้งในด้านแรงดัน (Voltage) และความถี่ของกระแสไฟ […]
อินเวอร์เตอร์ 3kW กับ 15kW การใช้งานต่างกันอย่างไร ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง ค่าไฟก็แพงขนาดนี้ เราก็ต้องหาทางออกดิ้นรนเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดและลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด ซึ่งการลดค่าไฟฟ้าคือทางออกที่สมเหตุสมผลที่สุด ซึ่งระบบ โซล่าเซลล์ ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดี แต่การที่จะติดตั้งนั้น เราต้องเลือกกำลังการผลิตให้เหมาะสมกับการใช้งานของบ้านเราด้วย ซึ่งวันนี้เราจะเปรียบเทียบการเลือกใช้ อินเวอร์เตอร์ ขนาด 3KW และ 15KW กันว่าแต่ละแบบควรใช้กับขนาดบ้านหรือโรงงานและมีการใช้งานไฟฟ้าปริมาณเท่าไหร่ และควรเลือกใช้ยี่ห้ออะไรดี อินเวอร์เตอร์ MG3KTL 3kW อินเวอร์เตอร์ MG3KTL 3kW แนะนำเป็นแบรนด์ INVT Solar Rich รุ่น iMars MG Series ซึ่งจะติดตั้งคู่กับ แผงโซล่าเซลล์ 6 แผง ซึ่งอินเวอร์เตอร์ประเภทหนึ่งเฟสได้รับการพัฒนาโดย INVT โดยเฉพาะสำหรับลูกค้าที่อาศัยอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าหนึ่งเฟสเท่านั้น ซีรีส์นี้ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และ เกิดการรวมกันของเทคโนโลยีสามระดับ T-type และ SVPWM มีข้อดีที่โดดเด่นหลายประการ เช่น ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย และที่สำคัญที่สุดคือราคาที่แข่งขันได้ […]
ระบบโซล่าเซลล์ ทามตะวัน คืออะไร โซล่าเซลล์ ทามตะวัน ระบบที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นทานตะวัน เพื่อประสิทธิภาพการรับแสงที่ดีที่สุด ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โซล่าเซลล์มีราคาถูกลง ส่งผลให้อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เฟื่องฟูแต่ แผงโซล่าเซลล์ ส่วนใหญ่มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือไม่สามารถขยับหน้าแผงเพื่อรับแสงได้ นั่นหมายถึงแสงแดดที่ส่องเข้ามาจะเปลี่ยนมุมตกกระทบไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้ แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่ ซึ่งปัญหานี้จะหมดไปเมื่อใช้ระบบ Sunlight-Tracking แผงโซล่าเซลล์ชนิดใหม่ได้ถูกตีพิมพ์ไว้ในบทความในวารสาร Nature Nanotechnology มีความสามารถในการ phototropism หรือความสามารถในการตามดวงอาทิตย์ทุกวันผ่านท้องฟ้า นักประดิษฐ์ Xiaoshi Qian แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส และทีมงานเรียกระบบแผงโซล่าเซลล์ชนิดใหม่นี้ว่า SunBOT ซึ่งย่อมาจากตัวติดตามรอบทิศทางแบบไบโอมิเมติกที่เหมือนดอกทานตะวัน โดยเมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับ SunBOT จนวัสดุร้อนขึ้นและหดตัวทำให้ แผงโซล่าเซลล์ หันไปที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรง และจะขยับแบบนี้ไปเรื่อยๆ จากการทดลองของนักวิศวกรรมชีวภาพจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ข้อสรุปว่า SunBOT สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น 90% ซึ่งเดิมทีในการสร้าง SunBOTS ชุดหนึ่งจะใช้อนุภาคนาโนทองคำและไฮโดรเจล แต่จากการทดลองเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าวัสดุอื่นๆ รวมถึงอนุภาคนาโนคาร์บอนแบล็คและโพลีเมอร์ผลึกเหลวก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีนี้ยังจะสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล ซึ่งนั้นหมายถึงในอนาคตเราจะมีวีธีการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงอีกหนึ่งวิธีนั่นเอง Solar Rich ผู้นำด้าน โซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ รับติดตั้งโซล่ารูฟท็อปครบวงจร โดยทีมงานโซล่าร์มืออาชีพ […]
โซล่าเซลล์ กับต้นทุน ความท้าทาย ในยุคปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมายังโลกมากพอ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของมนุษย์ทั้งหมดเป็นเวลานาน เนื่องจากมีความพร้อมใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นแหล่งพลังงานที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ย้อนไปในปี 2018 การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ การเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาแพงและไม่มีประสิทธิภาพ แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ในช่วงปีที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนการการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการลดโลกร้อน และประหยัดค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นทุกวัน และเพิ่มประสิทธิภาพ แผงโซลาร์เซลล์ ให้ตอบโจทย์ กับยุคปัจจุบันมากขึ้น. โซล่าเซลล์ ต้นทุน ความท้าทาย ในยุคปัจจุบัน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ในทุกวันนี้การที่เราจะติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ หรือเรียกให้ถูกต้องว่า โซล่ารูฟท็อป นั้นต้องคำนวณจากปัจจุยหลายๆอย่าง เช่น ในบ้านของเรานั้นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดกี่ชิ้นและถ้าเปิดใช้พร้อมกันแล้วใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่ แล้วจึงมาคำนวณอีกทีว่าต้องใช้ แผงโซล่าเซลล์กี่ กิโลวัตต์ และค่าไฟทีเสียอยู่ในปัจจุบันนั้นเท่าไหร่ ติดตั้งไปกี่ปีถึงจะคืนทุน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วใช่เวลาในการคืนทุนอยู่ที่ 5 ปี และอีก 20 ปี ต่อจากนั้นคือกำไรที่เราจะได้รับ จากที่ทางเราได้กล่าวมานั้น […]